วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

'ซินโครตรอน' วิจัยพบขุยมะพร้าวกรองโลหะหนักได้


นักวิจัยของสถาบันแสงซินโครตรอน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใช้แสงซินโครตรอนตรวจสอบ
พบขุยมะพร้าวช่วยกรองโลหะหนักในน้ำเสียได้ เล็งต่อยอดหาแนวทางลดมลพิษจากอุตสาหกรรม ช่วยลด
ต้นทุนระบบบำบัดน้ำเสีย ศาสตราจารย์ นาวาอากาศโท ดร.สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการสถาบันแสง
ซินโครตรอน  เปิดเผยว่า แสงซินโครตรอนเป็นแสงที่มีพลังงานและความเข้มของแสงสูงกว่าแสงอาทิตย์
ถึงล้านเท่า และครอบคลุมช่วงความยาวคลื่นตั้งแต่รังสีอินฟราเรดจนถึงรังสีเอ็กซ์ จึงสามารถนำไปประยุกต์
ใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย ล่าสุดทางสถาบันฯ ร่วมกับทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี
นำแสงซินโครตรอนมาศึกษากลไกการดูดซับโลหะนิกเกิลด้วยขุยมะพร้าว โดยใช้เทคนิคการดูดกลืนรังสีเอ็กซ์
ทั้งนี้จากผลการวิจัยพบว่า โครงสร้างของขุยมะพร้าวมีประสิทธิภาพและสามารถดูดซับนิกเกิลได้ดี นอกจากนี้
ยังสามารถชะล้างเอาโลหะนิกเกิลกลับคืนเพื่อนำไปใช้ใหม่ได้ โดยไม่ก่อให้เกิดของเสียอันตราย ผลการวิจัยนี้
สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อใช้ในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมชุบโลหะในขั้นตอนการชุบ
นิกเกิลได้ซึ่งในปัจจุบันใช้สารเคมีในการบำบัดและมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง อีกทั้งขุยมะพร้าวจัดเป็นวัสดุ
เหลือทิ้งทางการเกษตร
ทางสถาบันฯ ได้ลงพื้นที่ทดสอบขุยมะพร้าว เพื่อการบำบัดน้ำเสียกับโรงงานอุตสาหกรรมชุบโลหะ
ในจังหวัดสมุทรปราการ พบว่า ขุยมะพร้าวสามารถดูดซับโลหะหนักได้ดี ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการ
บำบัดน้ำเสียลงได้
รวมถึงทำการศึกษาเพิ่มเติมโดยการใช้สารเคมีบางชนิด เช่น สารละลายด่าง ผสมลงไป
กับขุยมะพร้าวด้วย
ซึ่งผลการศึกษาพบว่าประสิทธิภาพในการดูดซับและจับโลหะหนักทำได้ดีมากขึ้น
สำหรับผลงานวิจัยดังกล่าว
ทางสถาบันจะทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมที่สนใจ
ซึ่งสอบถามข้อมูลได้ที่ 
โทรศัพท์ 0-4421-7040 ต่อ 1251-2.

ภาพและ ข้อมูลจาก http://www.dailynews.co.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น