วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เด็กไทยคว้า 3 รางวัลจาก เวที “ISEF 2013” สหรัฐอเมริก


เมื่อ 18 พ.ค.56  ตามเวลาประเทศไทย ซึ่งเป็นเช้าวันที่ 17 พ.ค.ตามเวลาท้องถิ่นของอเมริกา 
ผู้สื่อข่าวเดลินิวส์ (@Travel_DN รายงานสดผ่านทวิตเตอร์จากการแข่งขันรอบตัดสินในรายการ
Intel International Science and Engineering Fair 2013 ที่ฟีนิกซ์  ประเทศสหรัฐอเมริกา
จัดโดยบริษัท อินเทล ซึ่งมีตัวแทนจากนานาประเทศในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าร่วมกา
รแข่งขันกว่า 600 โครงงาน จาก 17 ประเภทการแข่งขันซึ่งการแข่งขันเวทีนี้มีนักเรียนไทย 5 ทีม
ที่เข้าร่วมการแข่งขัน
ผลปรากฏว่า ทีมนักเรียนไทยสามารถคว้ามาได้ทั้งหมด 3 รางวัล ประกอบด้วย 
รางวัลอันดับที่ 3 จากทีมโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ซึ่งทำโครงงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม“การศึกษาประสิทธิภาพของดินฟอกสี ของเหลือจากอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มกับความสามารถในการดูดซับโลหะทองแดง” 
 รางวัลอันดับที่ 4 จากทีมโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน ซึ่งทำโครงงานวิทยาศาสตร์ด้านพืชเรื่อง
 “ปัจจัยที่มีผลต่อการตอบสนองของกาบหอยแครง” 
และรางวัลอันดับที่ 4 อีกทีมเป็นของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ซึ่งทำโครงงานทางด้านการจัดการ
สิ่งแวดล้อม “เครื่องยนต์สเตอริ่งสันดาปภายนอกโดยใช้ไบโอก๊าซ” 
สำหรับโครงงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม “การศึกษาประสิทธิภาพของดินฟอกสี ของเหลือ
จากอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มกับความสามารถในการดูดซับโลหะทองแดง” ผลงานของ  น.ส.
อภิษฎา จุลกทัพพะ จากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์  เป็นโครงงานที่คิดค้นขึ้นเพราะเล็งเห็นว่า
ในอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มจำเป็นจะต้องมีการใช้ดินฟอกสีเพื่อเปลี่ยนน้ำมันปาล์มสีแดงมาเป็น
น้ำมันพืชสีเหลืองอย่างที่เห็น โดยในแต่ละวันมีกากของเสียที่เป็นดินฟอกสีซึ่งจะต้องนำเข้าดิน
ภูเขาไฟจากประเทศอินโดนีเซียมาใช้ในกระบวนการเป็นจำนานมากถึง 20 ตัน/เดือน หรือ
23,000 ตัน/ปี แต่เดิมดินฟอกสีที่เหลือเหล่านี้ถูกนำไปใช้ในการทำปุ๋ยหรือผสมในอาหารสัตว์
แต่ต่อมามีกฎหมายห้ามดินฟอกสีจึงกลายเป็นปัญหาที่อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันจะต้องหาทาง
กำจัดด้วยการฝังกลบ แต่ผู้วิจัยเห็นว่าดินฟอกสีเหล่านี้ยังน่าจะมีประโยชน์จึงได้นำมาทดลอง
บำบัดน้ำเสียที่มีองค์ประกอบของทองแดงผสมอยู่ โดยพบว่ามีประสิทธิภาพในการดูดซับถึง
ร้อยละ 96 ในน้ำ ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถต่อยอดงานวิจัยเพื่อใช้ในการบำบัดน้ำเสียแบบระบบปิด
จากอุตสาหกรรมชนิดอื่น ๆ ได้ด้วย และดินฟอกสีก็จะไม่เป็นเพียงขยะอุตสาหกรรมอีกต่อไป
ส่วนผลรางวัลแกรนด์ไพรซ์ หรือ Intel International Science and Engineering Fair Grand
Awards Ceremony ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดในเวที ISEF 2013 โดยมีเงินรางวัล 75,000 ดอลลาร์
ตกเป็นของนักเรียนชาวโรมาเนียวัย 19 ปี เจ้าของผลงานโปรแกรมขับเคลื่อนรถยนต์อัตโนมัติ
ราคาประหยัด โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้างราว 4,000 ดอลลาร์ ได้รับรางวัล กอร์ดอน อี.
มัวร์ รางวัลพิเศษจากการสนับสนุนของมูลนิธิอินเทล หลังคว้ารางวัลอันดับ 1 ด้าน Computer
Science ในงานเดียวกัน แนวคิดของโครงงานนี้เกิดขึ้นจากการที่ไอโอนัท พบว่า แต่ละปีมีคน
ต้องเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์กว่า 2.5 ล้านคน โดยสาเหตุกว่าร้อยละ 87 มาจากความ
บกพร่องของผู้ขับขี่ ดังนั้นจึงคิดค้นโปรแกรมที่สามารถควบคุมการบังคับทิศทางของรถ
ให้ถูกต้องและเป็นไปตามกฎจราจร ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยลดอุบัติเหตุลงได้.


ภาพและข้อมูลจาก http://www.dailynews.co.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น