การเปิดเสรีทางการค้าของประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนในปลายปี 2558 ที่จะถึงนี้ ทำให้หน่วยงานภาครัฐ
ต่างเร่งรับมือกับการแข่งขันในการเปิดเสรีทางการค้าครั้งนี้ โดยเฉพาะสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
(ส.ป.ก.) หนึ่งในหน่วยงานภาครัฐได้ตระหนักถึงการเตรียมความพร้อมให้แก่เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินให้มี
ศักยภาพการผลิต มีมาตรฐานสินค้าเกษตรที่ดี โดยเฉพาะในเรื่องการลดต้นทุนการผลิต เพราะหากเกษตรกร
สามารถลดต้นทุนการผลิตก็จะเป็นการสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันกับประเทศคู่ค้าในกลุ่มประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียนได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย
ต่างเร่งรับมือกับการแข่งขันในการเปิดเสรีทางการค้าครั้งนี้ โดยเฉพาะสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
(ส.ป.ก.) หนึ่งในหน่วยงานภาครัฐได้ตระหนักถึงการเตรียมความพร้อมให้แก่เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินให้มี
ศักยภาพการผลิต มีมาตรฐานสินค้าเกษตรที่ดี โดยเฉพาะในเรื่องการลดต้นทุนการผลิต เพราะหากเกษตรกร
สามารถลดต้นทุนการผลิตก็จะเป็นการสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันกับประเทศคู่ค้าในกลุ่มประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียนได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย
"พื้นที่ของ ส.ป.ก.มีความหลากหลายทางกายภาพ และการประกอบอาชีพของเกษตรกร
ในเขตปฏิรูปที่ดิน ทำให้ภารกิจของ ส.ป.ก.ดำเนินการไม่ทั่วถึงทั้งหมด ในเบื้องต้นจึงมุ่งเน้นที่กลุ่มเกษตรกร
ทำนาก่อน เพราะเป็นกลุ่มอาชีพที่มีพื้นที่เพาะปลูกในเขตปฏิรูปที่ดินค่อนข้างมาก คือมากกว่าร้อยละ 50
ของพื้นที่ในเขตปฏิรูปที่ดิน"
ในเขตปฏิรูปที่ดิน ทำให้ภารกิจของ ส.ป.ก.ดำเนินการไม่ทั่วถึงทั้งหมด ในเบื้องต้นจึงมุ่งเน้นที่กลุ่มเกษตรกร
ทำนาก่อน เพราะเป็นกลุ่มอาชีพที่มีพื้นที่เพาะปลูกในเขตปฏิรูปที่ดินค่อนข้างมาก คือมากกว่าร้อยละ 50
ของพื้นที่ในเขตปฏิรูปที่ดิน"
ดร.วีระชัย นาควิบูลย์วงศ์ เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(ส.ป.ก.)
กล่าวต่อว่า ขณะนี้ ส.ป.ก.พยายามปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกข้าว จากเดิมที่เคยใช้วิธีหว่าน มาใช้เครื่องหยอด
เมล็ดข้าว ซึ่งศูนย์เครื่องจักรกลของ ส.ป.ก. เป็นผู้รวบรวมข้อมูลและจัดทำเครื่องต้นแบบ เป็นเครื่องจักรกล
แบบง่ายๆ มีกลไกไม่ซับซ้อน และเกษตรกรสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ โดยสร้างหรือผลิตใช้เองได้
โดยมีต้นทุนการผลิตเครื่องละประมาณ 5,000 บาทเท่านั้น และสามารถใช้งานได้ทั้งนาน้ำตม และนาแห้ง
มีประสิทธิภาพของเครื่องหยอดข้าวสูง ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่จะจ้างแรงงานการหว่านและการปักดำได้
ทั้งลดปริมาณการใช้เมล็ดพันธุ์ไปได้มาก
กล่าวต่อว่า ขณะนี้ ส.ป.ก.พยายามปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกข้าว จากเดิมที่เคยใช้วิธีหว่าน มาใช้เครื่องหยอด
เมล็ดข้าว ซึ่งศูนย์เครื่องจักรกลของ ส.ป.ก. เป็นผู้รวบรวมข้อมูลและจัดทำเครื่องต้นแบบ เป็นเครื่องจักรกล
แบบง่ายๆ มีกลไกไม่ซับซ้อน และเกษตรกรสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ โดยสร้างหรือผลิตใช้เองได้
โดยมีต้นทุนการผลิตเครื่องละประมาณ 5,000 บาทเท่านั้น และสามารถใช้งานได้ทั้งนาน้ำตม และนาแห้ง
มีประสิทธิภาพของเครื่องหยอดข้าวสูง ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่จะจ้างแรงงานการหว่านและการปักดำได้
ทั้งลดปริมาณการใช้เมล็ดพันธุ์ไปได้มาก
"โดยปกติหากใช้วิธีการหว่านเกษตรกรต้องใช้เมล็ดพันธุ์ถึง 30 กิโลกรัมต่อไร่ แต่เมื่อ
หันมาใช้เครื่องหยอดเมล็ดข้าวจะใช้เมล็ดพันธุ์เพียง 3 กิโลกรัมเท่านั้น ซึ่งขณะนี้ราคาเมล็ดพันธุ์กิโลกรัม
ละ 25 บาท หากคำนวณพื้นที่ 1 ไร่ เกษตรกรจะประหยัดค่าเมล็ดพันธุ์ได้ 675 บาท และเมื่อรวมกับค่าจ้าง
หว่านแล้วก็จะลดต้นทุนการผลิตลงไปได้อย่างน้อย 1,000 บาทต่อไร่ นอกจากนี้ในส่วนของประโยชน์
หรือผลพลอยได้ จะช่วยลดการใช้ปุ๋ย ลดการใช้สารเคมีกำจัดแมลง และความสูญเสียจากการเก็บเกี่ยว
ทำให้ค่าใช้จ่ายในการจัดการลดลงตามไปด้วย"
หันมาใช้เครื่องหยอดเมล็ดข้าวจะใช้เมล็ดพันธุ์เพียง 3 กิโลกรัมเท่านั้น ซึ่งขณะนี้ราคาเมล็ดพันธุ์กิโลกรัม
ละ 25 บาท หากคำนวณพื้นที่ 1 ไร่ เกษตรกรจะประหยัดค่าเมล็ดพันธุ์ได้ 675 บาท และเมื่อรวมกับค่าจ้าง
หว่านแล้วก็จะลดต้นทุนการผลิตลงไปได้อย่างน้อย 1,000 บาทต่อไร่ นอกจากนี้ในส่วนของประโยชน์
หรือผลพลอยได้ จะช่วยลดการใช้ปุ๋ย ลดการใช้สารเคมีกำจัดแมลง และความสูญเสียจากการเก็บเกี่ยว
ทำให้ค่าใช้จ่ายในการจัดการลดลงตามไปด้วย"
ดร.วีระชัยย้ำด้วยว่า เรื่องนวัตกรรมเครื่องหยอดข้าว ส.ป.ก.ให้ความสนใจค่อนข้างมาก
โดยจะมีการขยายผลการดำเนินงานด้วยการเชื่อมโยงเครือข่ายนวัตกรรมเครื่องจักรกล โดยแบ่งการทำงาน
ออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ กลุ่มผู้ใช้เครื่องจักรกล ต้องใช้และมีทักษะอย่างไร จึงจะเข้าถึงองค์ความรู้
สร้างความเข้าใจจนสามารถเป็นวิทยากรให้ความรู้ผู้อื่นได้ ซึ่งการใช้เครื่องหยอดแบบนี้จะลดต้นทุนได้
อย่างแท้จริง ต่อไปหากมีความต้องการใช้เครื่องหยอดข้าวเพิ่มมากขึ้น สิ่งที่ส.ป.ก.ต้องเตรียมไว้ คือ
การขยายผลนวัตกรรมเครื่องจักรกลต่อไป
โดยจะมีการขยายผลการดำเนินงานด้วยการเชื่อมโยงเครือข่ายนวัตกรรมเครื่องจักรกล โดยแบ่งการทำงาน
ออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ กลุ่มผู้ใช้เครื่องจักรกล ต้องใช้และมีทักษะอย่างไร จึงจะเข้าถึงองค์ความรู้
สร้างความเข้าใจจนสามารถเป็นวิทยากรให้ความรู้ผู้อื่นได้ ซึ่งการใช้เครื่องหยอดแบบนี้จะลดต้นทุนได้
อย่างแท้จริง ต่อไปหากมีความต้องการใช้เครื่องหยอดข้าวเพิ่มมากขึ้น สิ่งที่ส.ป.ก.ต้องเตรียมไว้ คือ
การขยายผลนวัตกรรมเครื่องจักรกลต่อไป
ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง ที่ได้พยายามจะสร้างเครือข่ายก็คือ ช่างท้องถิ่น เพราะช่างท้องถิ่น
เขาจะเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้เครื่องหยอดด้วยตนเอง จนสามารถผลิตเพื่อการจำหน่ายและ
ขยายผลต่อไปได้ สร้างเครือข่าย เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และพัฒนาเครื่องจักรกลในเรื่อง
เครื่องหยอดเมล็ดข้าวให้ดีเยี่ยมและกว้างขวางยิ่งขึ้น
เขาจะเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้เครื่องหยอดด้วยตนเอง จนสามารถผลิตเพื่อการจำหน่ายและ
ขยายผลต่อไปได้ สร้างเครือข่าย เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และพัฒนาเครื่องจักรกลในเรื่อง
เครื่องหยอดเมล็ดข้าวให้ดีเยี่ยมและกว้างขวางยิ่งขึ้น
นับเป็นอีกก้าวของส.ป.ก.ในการนำนวัตกรรมเครื่องหยอดข้าวมาใช้ในการทำนา
นอกจากจะช่วยในเรื่องลดต้นทุนค่าจ้างแรงงาน และประหยัดเมล็ดพันธุ์แล้วยังทำให้ค่าใช้จ่าย
ในการจัดการลดลงตามไปด้วย
นอกจากจะช่วยในเรื่องลดต้นทุนค่าจ้างแรงงาน และประหยัดเมล็ดพันธุ์แล้วยังทำให้ค่าใช้จ่าย
ในการจัดการลดลงตามไปด้วย
ภาพและข้อมูลจาก http://www.komchadluek.net/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น