วันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

นักวิจัยจุฬา ฯ ประสบความสำเร็จในการกำเนิดแมวหลอดแก้ว

เมื่อวันที่ 16 พค.57 ศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร. มงคล เตชะกำพุ รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และ สัตวแพทย์หญิง ดร. อัมพิกา ทองภักดี เปิดเผยว่า ทีมวิจัยได้ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
ในการให้กำเนิดลูกแมวจากการปฏิสนธินอกร่างกาย หรือ "ลูกแมวหลอดแก้ว” โดยเป็นแมวแฝดที่เกิดจากหลอดแก้ว
คู่แรกของไทย ซึ่งได้ตั้งชื่อว่า 
เบาหวิว และหนักอึ้ง

ทั้งนี้ประเทศไทยมีแมวมงคลทั้งสิ้น 17 ชนิด ขณะนี้เหลือให้ชื่นชมเพียง 4 สายพันธุ์เท่านั้น คือ วิเชียรมาศ
ศุภลักษณ์ โกนจา และสีสวาด ซึ่งนับวันหายากและใกล้สูญพันธุ์ งานวิจัยดังกล่าวจึงเป็นก้าวสำคัญ ในการนำ
ไปถ่ายทอด เพื่ออนุรักษ์พันธุ์แมวไทยหายากหรือที่สูญพันธุ์ไปแล้ว รวมถึงใช้กับสัตว์ป่าที่สายพันธุ์ใกล้เคียงกับแมว
สำหรับการผสมเทียมหลอดแก้วลูกแมวนั้นเป็นการนำเอาตัวอสุจิไปผสมกับไข่อ่อนที่สุกแล้ว ในหลอดทดลอง ซึ่
งเดิมใช้หลอดแก้ว เป็นกระบวนการเกิดนอกร่างกาย เลียนแบบสภาวะธรรมชาติ ให้ได้ตัวอ่อนขึ้นมาแล้วจึงนำ
ไปฝากในแม่แมวตัวรับให้ตั้งท้องแทน หรือที่เรียกว่าอุ้มบุญ
ส่วนขั้นตอนของการผลิตลูกแมวหลอดแก้ว ประกอบด้วย การนำไข่อ่อนที่ยังไม่พร้อมปฏิสนธิมาเลี้ยงใน
หลอดทดลอง หลังจากนั้น 24 ชั่วโมง ไข่อ่อนจะสุกพร้อมปฏิสนธิ จึงเอาตัวอสุจิใส่ลงไป ทิ้งไว้18 ชั่วโมง
แล้วนำมาเลี้ยง จนได้ตัวอ่อนระยะ 2-4 เซลล์ประมาณ 24-48 ชั่วโมง แล้วนำไปย้ายฝากในแม่แมวอุ้มบุญ
จากนั้นปล่อยให้แม่แมวอุ้มท้องและคลอดหลังตั้งท้องนานประมาณ 2 เดือน
ภาพและข้อมูลจาก http://www.dailynews.co.th/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น