เด็กไทยทำชื่อเสียงระดับอินเตอร์ ′โม สาร์ทน้อย′ ธนัช เปลวเทียนยิ่งทวี อายุ 11 ขวบ
มีชื่อติดโผ 15 สุดยอดเด็กอัจฉริยะของโลก จากการจัดอันดับโดยเว็บการศึกษาชื่อดัง
ของสหรัฐ คุณพ่อคุณแม่เผยปัจจุบันทักษะของลูกก้าวไกลมาก โดยเฉพาะสายวิทย์
และคอมพิวเตอร์ ทั้งยังไปร่วมทำงานวิจัยกับนักวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ
คณบดีวิทยาศาสตร์จุฬาฯ ชี้ในอนาคตอาจเป็นคนไทยคนแรกที่พิชิตรางวัลโนเบล
ด้าน ′ธนัช′ หนูน้อยจีเนียสเปิดใจตั้งความหวังว่าสักวันจะคิดค้นบางสิ่งบางอย่าง
ที่เป็นประโยชน์กับมวลมนุษยชาติสำเร็จ
มีชื่อติดโผ 15 สุดยอดเด็กอัจฉริยะของโลก จากการจัดอันดับโดยเว็บการศึกษาชื่อดัง
ของสหรัฐ คุณพ่อคุณแม่เผยปัจจุบันทักษะของลูกก้าวไกลมาก โดยเฉพาะสายวิทย์
และคอมพิวเตอร์ ทั้งยังไปร่วมทำงานวิจัยกับนักวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ
คณบดีวิทยาศาสตร์จุฬาฯ ชี้ในอนาคตอาจเป็นคนไทยคนแรกที่พิชิตรางวัลโนเบล
ด้าน ′ธนัช′ หนูน้อยจีเนียสเปิดใจตั้งความหวังว่าสักวันจะคิดค้นบางสิ่งบางอย่าง
ที่เป็นประโยชน์กับมวลมนุษยชาติสำเร็จ
เมื่อวันที่ 24 ก.ย.ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าว "ข่าวสด" รายงานว่า เว็บไซต์จัดอันดับการศึกษา
ชื่อดังของสหรัฐอเมริกา thebestschools.org (เดอะเบสต์สคูลส์) ประกาศผลจัดอันดับ
เด็กก่อนวัยรุ่นที่มีความสามารถพิเศษระดับอัจฉริยะทั่วโลก 15 คน มีชื่อ "โมสาร์ทน้อย"
ด.ช.ธนัช เปลวเทียนยิ่งทวี เด็กอัจฉริยะชาวไทยติดโผอยู่ด้วย
สำหรับเด็กที่ได้รับการจัดอันดับ 15 คนในปี 2556 นี้เป็นเด็กอเมริกัน 6 คน อังกฤษ 4 คน
และไทย ออสเตรเลีย ฮ่องกง เคนยา มอลโดวา ประเทศละ 1 คน แต่ละคนมีความสามารถ
พิเศษระดับสูงในสาขาแตกต่างกัน เช่น ศิลปะ ดนตรี วิชาการ ฯลฯ
เว็บเดอะเบสต์สคูลส์ บรรยายเรื่องราวความพิเศษโดยสรุปของเด็กอัจฉริยะทั้ง 15 คน
พร้อมคำพูดประกอบของเด็กๆ และในส่วนของด.ช.ธนัช เว็บไซต์ระบุไว้ว่ามีผลงาน
ภาพเขียนแนวแอ๊บสแตร็กขายไปทั่วโลก แสดงเดี่ยวไวโอลินตั้งแต่อายุแค่ 4 ขวบ
นอกจากนี้ ยังมีทักษะด้านกีฬากอล์ฟและศิลปะการต่อสู้ ขณะนี้พ่อแม่ทำหน้าที่เป็น
ครูผู้สอนเองที่บ้าน ส่วนคำพูดของด.ช.ธนัชที่ทางเว็บระบุไว้ใต้รูปภาพ คือ "คำถาม
ที่ผมถูกถามบ่อยๆ คือโตขึ้นจะเป็นอะไร เป็นคำถามยิ่งใหญ่มาก เพราะไม่ว่าเราจะ
เลือกอะไร เราก็จะต้องผูกมัดกับสิ่งนั้นไปทั้งชีวิต ผมจึงระมัดระวังก่อนจะตอบออกไป"
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า "น้องธนัช" ด.ช.ธนัช เปลวเทียนยิ่งทวี อัจฉริยะเด็กไทย
มีความสามารถพิเศษหลากหลายทั้งศิลปะ ดนตรี และวิชาการ ปัจจุบันอายุ 11 ขวบ
มีชื่อเสียงตั้งแต่วัย 3 ขวบ สามารถจัดนิทรรศการเดี่ยววาดภาพสีน้ำในแนวนามธรรม
หรือ แอ๊บสแตร็ก ประกาศขายไปทั่วโลกหลายพันชิ้นจนได้รับฉายา "ปิกัสโซ่น้อย"
และเคยเป็นข่าวฮือฮาไปทั่วโลกจากคลิปในเว็บยูทูบโชว์ฝีมือสีไวโอลิน ขณะอายุ
4 ขวบ จนมีผู้คลิกเข้าไปชมกว่า 7 ล้านครั้งภายในเวลาไม่กี่วัน กระทั่งได้รับฉายา
"โมสาร์ทน้อย" ล่าสุดยอดวิวคลิปดังกล่าวพุ่งขึ้นไปเกือบ 23 ล้านครั้ง
นอกจากนั้น ด.ช.ธนัชยังมีความโดดเด่นด้านวิชาการ ทำให้ผู้ปกครองตัดสินใจ
นำออกจากระบบโรงเรียน เพื่อจัดการเรียนรู้ด้วยตนเองในรูปแบบของแฟมิลี่ อคาเดมี
ซึ่งจัดการเรียนรู้ได้เฉพาะเจาะจงตรงตามศักยภาพผู้เรียน เปิดกว้างให้เรียนรู้ได้
ทั้งในแนวกว้างและลึกไร้ขีดจำกัด
นายธนู เปลวเทียนยิ่งทวี บิดาของด.ช.ธนัช เปิดเผยว่า เว็บเดอะเบสต์สคูลส์
แจ้งเข้ามาให้ทราบถึงการจัดอันดับดังกล่าว เมื่อราวกลางเดือนก.ย. 2556 ว่า
น้องธนัชติด 1 ใน 15 เด็กเก่งของโลก อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่แสดงในเว็บไซด์
เป็นข้อมูลเมื่อ 2-3 ปีก่อน ปัจจุบันน้องธนัชก้าวล้ำไปมาก โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์
และคอมพิวเตอร์ ตนเห็นแววทางวิชาการของลูกตั้งแต่เริ่มอ่านหนังสือได้คล่อง
ด้วยตัวเอง ธนัชเป็นนักอ่าน อ่านเยอะ เร็ว จับใจความและจดจำได้ดี ชอบอ่าน
หนังสือที่มีสาระความรู้ ทั้งวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ วรรณคดี อ่านหนังสือ
ทุกแนวอย่างมีความสุข แม้แต่ตำราทางวิชาการจากต่างประเทศที่หนามากๆ
และหนักหลายกิโลกรัมก็อ่านได้สนุก
"ลูกชายเข้าโรงเรียนแบบเด็กทั่วไปตั้งแต่เตรียมอนุบาล พอถึงประถม แววทางวิชาการ
ชัดเจนขึ้นเมื่อไปสอบแข่งขันทางวิชาการวิชาวิทยาศาสตร์ระดับประเทศ ตอนอยู่ ป.2
สอบแข่งกับเด็กประถมต้นก็บอกให้แม่ช่วยซื้อหนังสือให้ เป็นหนังสือระดับป.3 ถึง ป.6
แล้วมานั่งอ่านเอง ทำแบบฝึกหัดเอง ปรากฏว่าสอบติดระดับเหรียญทองแดง หลังจากนั้น
ครอบครัวจึงส่งเสริมอย่างจริงจัง ให้โอกาสได้อ่านและมีประสบการณ์เพิ่มขึ้น พอป.3
ได้เหรียญทอง" นายธนูกล่าว
ยอดคุณพ่อผู้เลี้ยงดูเด็กอัจฉริยะวัย 11 ขวบ ระบุว่า การที่ลูกชายไม่ต้องไปโรงเรียน
ทำให้มีเวลาเรียนรู้ในแต่ละวิชาอย่างเจาะลึก และมีโอกาสไปทำงานวิจัยกับ 2
มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย คือ 1. ร่วมงานวิจัย Riboflavin Binding Protein X-ray Crystallography ที่ภาคชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อย่าง
ต่อเนื่องอยู่เกือบ 5 เดือน กับรศ.ดร.จิรันดร ยูวะนิยม และ ดร.วรพจน์ อุณอนันต์
ภายใต้การสนับสนุน ส่งเสริมจากศ.ดร.พิมพ์ใจ ใจเย็น รองคณบดี คณะวิทยาศาสตร์
ม.มหิดล 2. งานวิจัยวิทยาการคอมพิวเตอร์ Computer Science ในการพัฒนา
แปลภาษามนุษย์ให้เป็นภาษาคอมพิวเตอร์จากหลายขั้นตอนให้เหลือเพียง
ขั้นตอนเดียว กับศ.ดร.ชิดชนก เหลือสินทรัพย์ ภายใต้การสนับสนุนส่งเสริมจาก
ศ.ดร.สุพจน์ หารหนองบัว คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
"การทำงานวิจัยกับ 2 สถาบัน ทำให้น้องธนัชได้รับประสบการณ์ตรง ได้เห็นชีวิต
การทำงานของนักวิทยาศาสตร์ไทยว่าต้องทำงานทุ่มเทเพียงใดภายใต้งบประมาณ
และข้อจำกัดมากมายกว่าจะประสบความสำเร็จกับงานวิจัยแต่ละเรื่องล่าสุดเมื่อ
วันที่ 19 สิงหาคมธนัชได้รับเชิญจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ให้เป็นวิทยากรพิเศษบรรยายในหัวข้อนวัตกรรมใหม่แห่งการเรียนรู้ ในศตวรรษ
ที่ 21 ด้วย" นายธนูกล่าว
พ่อน้องธนัช ระบุด้วยว่า ลูกยังมีความเป็นเด็กเช่นเดียวกับเด็กๆ ทั่วไปเป็นเด็ก
ที่เข้าสังคมได้ดี เราพยายามรักษาตรงนี้ไว้ แต่จะคุยกับเด็กรุ่นเดียวกันไม่ค่อยสนุก
เนื่องจากความสนใจของธนัชก้าวไปไกลกว่าเด็กทั่วไป แต่ถ้าได้คุยกับนักวิชาการ
ด๊อกเตอร์ หรือศาสตราจารย์ดูจะสนุกและมีความสุขมาก เหมือนต่อยอดความรู้
"ธนัชยังสนใจด้านกีฬา รักการออกกำลังกายโดยเล่นกอล์ฟจึงไม่ค่อยป่วย และชอบ
เชียร์นักกีฬาไทย ทั้งน้องเมย์ รัชนก อินทนนท์ รวมถึงล่าสุดทีมวอลเลย์บอลสาวไทย
นัดชิงชนะเลิศ น้องธนัชเชียร์แบบกระโดดตัวลอยโดยลืมว่ากำลังเจ็บเท้าอยู่ อาหาร
การกินจะกินตามปกติ แต่ไม่กินอาหารเผ็ด เราไม่ได้ให้กินอาหารเสริมหรือวิตามิน
ใดๆ เลย แต่ตอนนี้ห่วงเรื่องการนอนดึก เพราะเขาสนใจเรียนออนไลน์ซึ่งปัจจุบัน
เรียนสดแบบเรียลไทม์กับอาจารย์ใน 4 มหาวิทยาลัยดังของสหรัฐ คือ มหาวิทยาลัย
เอ็มไอที ฮาร์วาร์ดสแตนฟอร์ด และเบิร์กลีย์"
างวัชราภรณ์ เปลวเทียนยิ่งทวี คุณแม่ เผยสาเหตุที่ตัดสินใจนำด.ช.ธนัชออกจากระบบ
โรงเรียนว่า ตอนแรกคิดว่าโรงเรียนที่มีโครงการพัฒนาเด็กผู้มีความสามารถพิเศษ
จะเหมาะกับลูก แต่ค้นพบว่าพัฒนาการที่ก้าวหน้าของลูกล้วนมาจากศักยภาพของลูก
ผนวกกับการส่งเสริม ความทุ่มเทและใส่ใจจากที่บ้านทั้งสิ้น จึงตัดสินใจออกจากระบบ
โรงเรียนเมื่อจบ ป.3 เทอมต้นมาจดทะเบียนขอจัดการศึกษาโดยครอบครัวกับเขต
การศึกษาพื้นที่ ภายใต้การสนับสนุนส่งเสริมจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นผู้ประเมินและรับรองผลการศึกษาของธนัช
"การเรียนของน้องธนัชใช้หลักสูตรกำหนดโดยกระทรวงศึกษาธิการเป็นแนวทางโดย
ผู้ปกครองออกแบบบูรณาการให้เหมาะสมเป็นการเฉพาะเจาะจงตามความชอบ
ความสนใจ ความถนัด และพัฒนาก้าวหน้าไปตามศักยภาพ หลังออกจากระบบ
โรงเรียนมาถึงขณะนี้ 3 ปีเต็ม วิชาการทั่วไปตอนนี้ศึกษาในระดับมัธยมต้นแต่หลายวิชา
เรียนก้าวหน้าไปถึงระดับมัธยมปลายและมหาวิทยาลัย" นางวัชราภรณ์กล่าว
ด้านด.ช.ธนัช ให้สัมภาษณ์ว่า ชอบระบบจัดการศึกษาแบบแฟมิลี่ อคาเดมี ที่คุณพ่อคุณแม่
จัดให้มาก เพราะวันหนึ่งๆ สามารถเรียนรู้ แสวงหา และทำอะไรที่อยากทำได้มากมาย
คุณแม่จะเป็นคนวางแผนในแต่ละวันว่าต้องเรียนอะไรบ้าง สลับกับการออกกำลังกาย
ซ้อมไวโอลิน เล่น หรือทำอย่างอื่นที่กำลังสนใจอยากเรียนรู้
ผู้สื่อข่าวถามถึงเพื่อนๆ และการใช้ชีวิตในสังคม เจ้าของฉายาโมสาร์ทน้อย กล่าวว่า
"ผมมีโอกาสดีมากที่ได้พบเพื่อนๆ มาจากที่ต่างๆ ด้วยวัย ประสบการณ์ และความสนใจ
หลากหลาย มีโอกาสเรียนรู้สังคมรอบตัว ทำให้ปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้มากกว่า
ผมจึงมีสังคมที่เปิดกว้างกว่าแค่เพื่อนในวัยเดียวกันที่จะพบตอนไปโรงเรียน ผมมี
เพื่อนเล่นตั้งแต่วัยเด็กกว่าไปจนถึงอายุมากกว่า แต่คนที่ผมชอบคุยด้วยส่วนใหญ่
จะอายุมากกว่า หลายท่านเป็นระดับศาสตราจารย์หรือรองศาสตราจารย์ที่เอ็นดูและ
กรุณาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์หลายๆ เรื่อง ช่วยย่นระยะเวลาการเรียนรู้
ผมนำสิ่งที่ได้จากท่านเหล่านั้นไปต่อยอดค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งความรู้อื่นๆ เช่น
ตำราหรืออินเตอร์เน็ต เมื่อผมเรียนรู้และฝึกฝนแล้วเจออุปสรรคปัญหาก็กลับไปหา
ท่านใหม่ ท่านจะชี้จุดให้ ผมก็เดินต่อได้"
เมื่อสอบถามถึงความรู้สึกที่มีรายชื่อเป็น 1 ใน 15 เด็กอัจฉริยะของโลกประจำปีนี้
ด.ช.ธนัชกล่าวว่า รู้สึกยินดีและเป็นเกียรติ แต่เส้นทางสู่ความสำเร็จยังอีกยาวไกล
ยังต้องใช้เวลาเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวอีกมาก ทั้งลองผิดลองถูก สมหวังบ้าง ผิดหวัง
บ้างแบบคนธรรมดาทั่วไป เมื่อผิดหวังจะบอกตัวเองว่าไม่ใช่ความล้มเหลว เพียงแต่
ยังเดินไปไม่ถึงเป้าหมาย เพราะฉะนั้นต้องก้าวเดินต่อไป และหวังอย่างยิ่งว่าสักวันหนึ่ง
จะสามารถคิดบางสิ่งบางอย่างที่เป็นประโยชน์กับมนุษยชาติได้
วันเดียวกันศ.ดร.สุพจน์ หารหนองบัว คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ย้อนเบื้องหลัง
การเปิดโอกาสให้ธนัชมาร่วมทำงานวิจัย ว่า รู้จักกับน้องธนัชเมื่อ 2 ปีก่อนในงาน
นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ขณะนั้นธนัชมาเล่นดนตรีและเข้าไปรับฟังบรรยายจาก
นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น เห็นว่ารับฟังอย่างตั้งอกตั้งใจ แปลกใจว่าทำไมถึงมาฟังและ
ดูแล้วฟังอย่างรู้เรื่อง เมื่อมีโอกาสพูดคุยกับคุณพ่อน้องธนัช ถึงความสนใจของเด็ก
ประกอบกับศ.ดร. ชิดชนก เหลือสินทรัพย์ นักวิชาการคณะวิทยาศาสตร์และวิทยาการ
คอมพิวเตอร์ พบว่าธนัชสนใจและฟังเข้าใจจึงหาโครงการให้ลองทำเพื่อหยั่งเชิงว่า
สามารถรับได้แค่ไหน สิ่งน่าสนใจคือเมื่ออ.ชิดชนก อธิบายด้วยภาษานักวิชาการ
น้องธนัชจดจำและสรุปประเด็นสิ่งต่างๆ ได้ดี เมื่อเจอกับผู้อื่นสามารถอธิบายเรื่อง
วิชาการในภาษาพูดธรรมดาที่คนฟังเข้าใจได้ง่ายอีกด้วย
"ปัจจุบันธนัชทำโครงการวิจัยวิทยา ศาสตร์คอมพิวเตอร์กับศ.ดร.ชิดชนก ตอนนี้เรา
คุยไปถึงขั้นนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลของไทย ซึ่งตอนนี้ยังไม่มี น้องธนัชอาจ
เป็นความหวังเพราะมีทักษะหลายด้าน ด้านวิทยาศาสตร์ก็ทำได้ดี โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์
คอมพิวเตอร์ ถ้ามีเวลาอยากให้ทำต่อเนื่อง สิ่งที่ต้องคอยระวังคือความรู้พื้นฐานใน
ระดับมัธยศึกษาที่แน่นจริงๆ ไม่ใช่ว่าเป็นเด็กอัจฉริยะแล้วไม่ต้องเรียน ความรู้พื้นฐาน
ยังเป็นสิ่งจำเป็น อย่างไรก็ตามเด็กที่เรียนขนาดนี้และไม่ค่อยมีเพื่อน แต่กลับกลายเป็น
เด็กที่ร่าเริงมาก อัธยาศัยดี มีความสุภาพมาก นับว่าเป็นคุณลักษณะที่ดี" ศ.ดร.สุพจน์กล่าว
ชื่อดังของสหรัฐอเมริกา thebestschools.org (เดอะเบสต์สคูลส์) ประกาศผลจัดอันดับ
เด็กก่อนวัยรุ่นที่มีความสามารถพิเศษระดับอัจฉริยะทั่วโลก 15 คน มีชื่อ "โมสาร์ทน้อย"
ด.ช.ธนัช เปลวเทียนยิ่งทวี เด็กอัจฉริยะชาวไทยติดโผอยู่ด้วย
สำหรับเด็กที่ได้รับการจัดอันดับ 15 คนในปี 2556 นี้เป็นเด็กอเมริกัน 6 คน อังกฤษ 4 คน
และไทย ออสเตรเลีย ฮ่องกง เคนยา มอลโดวา ประเทศละ 1 คน แต่ละคนมีความสามารถ
พิเศษระดับสูงในสาขาแตกต่างกัน เช่น ศิลปะ ดนตรี วิชาการ ฯลฯ
เว็บเดอะเบสต์สคูลส์ บรรยายเรื่องราวความพิเศษโดยสรุปของเด็กอัจฉริยะทั้ง 15 คน
พร้อมคำพูดประกอบของเด็กๆ และในส่วนของด.ช.ธนัช เว็บไซต์ระบุไว้ว่ามีผลงาน
ภาพเขียนแนวแอ๊บสแตร็กขายไปทั่วโลก แสดงเดี่ยวไวโอลินตั้งแต่อายุแค่ 4 ขวบ
นอกจากนี้ ยังมีทักษะด้านกีฬากอล์ฟและศิลปะการต่อสู้ ขณะนี้พ่อแม่ทำหน้าที่เป็น
ครูผู้สอนเองที่บ้าน ส่วนคำพูดของด.ช.ธนัชที่ทางเว็บระบุไว้ใต้รูปภาพ คือ "คำถาม
ที่ผมถูกถามบ่อยๆ คือโตขึ้นจะเป็นอะไร เป็นคำถามยิ่งใหญ่มาก เพราะไม่ว่าเราจะ
เลือกอะไร เราก็จะต้องผูกมัดกับสิ่งนั้นไปทั้งชีวิต ผมจึงระมัดระวังก่อนจะตอบออกไป"
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า "น้องธนัช" ด.ช.ธนัช เปลวเทียนยิ่งทวี อัจฉริยะเด็กไทย
มีความสามารถพิเศษหลากหลายทั้งศิลปะ ดนตรี และวิชาการ ปัจจุบันอายุ 11 ขวบ
มีชื่อเสียงตั้งแต่วัย 3 ขวบ สามารถจัดนิทรรศการเดี่ยววาดภาพสีน้ำในแนวนามธรรม
หรือ แอ๊บสแตร็ก ประกาศขายไปทั่วโลกหลายพันชิ้นจนได้รับฉายา "ปิกัสโซ่น้อย"
และเคยเป็นข่าวฮือฮาไปทั่วโลกจากคลิปในเว็บยูทูบโชว์ฝีมือสีไวโอลิน ขณะอายุ
4 ขวบ จนมีผู้คลิกเข้าไปชมกว่า 7 ล้านครั้งภายในเวลาไม่กี่วัน กระทั่งได้รับฉายา
"โมสาร์ทน้อย" ล่าสุดยอดวิวคลิปดังกล่าวพุ่งขึ้นไปเกือบ 23 ล้านครั้ง
นอกจากนั้น ด.ช.ธนัชยังมีความโดดเด่นด้านวิชาการ ทำให้ผู้ปกครองตัดสินใจ
นำออกจากระบบโรงเรียน เพื่อจัดการเรียนรู้ด้วยตนเองในรูปแบบของแฟมิลี่ อคาเดมี
ซึ่งจัดการเรียนรู้ได้เฉพาะเจาะจงตรงตามศักยภาพผู้เรียน เปิดกว้างให้เรียนรู้ได้
ทั้งในแนวกว้างและลึกไร้ขีดจำกัด
นายธนู เปลวเทียนยิ่งทวี บิดาของด.ช.ธนัช เปิดเผยว่า เว็บเดอะเบสต์สคูลส์
แจ้งเข้ามาให้ทราบถึงการจัดอันดับดังกล่าว เมื่อราวกลางเดือนก.ย. 2556 ว่า
น้องธนัชติด 1 ใน 15 เด็กเก่งของโลก อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่แสดงในเว็บไซด์
เป็นข้อมูลเมื่อ 2-3 ปีก่อน ปัจจุบันน้องธนัชก้าวล้ำไปมาก โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์
และคอมพิวเตอร์ ตนเห็นแววทางวิชาการของลูกตั้งแต่เริ่มอ่านหนังสือได้คล่อง
ด้วยตัวเอง ธนัชเป็นนักอ่าน อ่านเยอะ เร็ว จับใจความและจดจำได้ดี ชอบอ่าน
หนังสือที่มีสาระความรู้ ทั้งวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ วรรณคดี อ่านหนังสือ
ทุกแนวอย่างมีความสุข แม้แต่ตำราทางวิชาการจากต่างประเทศที่หนามากๆ
และหนักหลายกิโลกรัมก็อ่านได้สนุก
"ลูกชายเข้าโรงเรียนแบบเด็กทั่วไปตั้งแต่เตรียมอนุบาล พอถึงประถม แววทางวิชาการ
ชัดเจนขึ้นเมื่อไปสอบแข่งขันทางวิชาการวิชาวิทยาศาสตร์ระดับประเทศ ตอนอยู่ ป.2
สอบแข่งกับเด็กประถมต้นก็บอกให้แม่ช่วยซื้อหนังสือให้ เป็นหนังสือระดับป.3 ถึง ป.6
แล้วมานั่งอ่านเอง ทำแบบฝึกหัดเอง ปรากฏว่าสอบติดระดับเหรียญทองแดง หลังจากนั้น
ครอบครัวจึงส่งเสริมอย่างจริงจัง ให้โอกาสได้อ่านและมีประสบการณ์เพิ่มขึ้น พอป.3
ได้เหรียญทอง" นายธนูกล่าว
ยอดคุณพ่อผู้เลี้ยงดูเด็กอัจฉริยะวัย 11 ขวบ ระบุว่า การที่ลูกชายไม่ต้องไปโรงเรียน
ทำให้มีเวลาเรียนรู้ในแต่ละวิชาอย่างเจาะลึก และมีโอกาสไปทำงานวิจัยกับ 2
มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย คือ 1. ร่วมงานวิจัย Riboflavin Binding Protein X-ray Crystallography ที่ภาคชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อย่าง
ต่อเนื่องอยู่เกือบ 5 เดือน กับรศ.ดร.จิรันดร ยูวะนิยม และ ดร.วรพจน์ อุณอนันต์
ภายใต้การสนับสนุน ส่งเสริมจากศ.ดร.พิมพ์ใจ ใจเย็น รองคณบดี คณะวิทยาศาสตร์
ม.มหิดล 2. งานวิจัยวิทยาการคอมพิวเตอร์ Computer Science ในการพัฒนา
แปลภาษามนุษย์ให้เป็นภาษาคอมพิวเตอร์จากหลายขั้นตอนให้เหลือเพียง
ขั้นตอนเดียว กับศ.ดร.ชิดชนก เหลือสินทรัพย์ ภายใต้การสนับสนุนส่งเสริมจาก
ศ.ดร.สุพจน์ หารหนองบัว คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
"การทำงานวิจัยกับ 2 สถาบัน ทำให้น้องธนัชได้รับประสบการณ์ตรง ได้เห็นชีวิต
การทำงานของนักวิทยาศาสตร์ไทยว่าต้องทำงานทุ่มเทเพียงใดภายใต้งบประมาณ
และข้อจำกัดมากมายกว่าจะประสบความสำเร็จกับงานวิจัยแต่ละเรื่องล่าสุดเมื่อ
วันที่ 19 สิงหาคมธนัชได้รับเชิญจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ให้เป็นวิทยากรพิเศษบรรยายในหัวข้อนวัตกรรมใหม่แห่งการเรียนรู้ ในศตวรรษ
ที่ 21 ด้วย" นายธนูกล่าว
พ่อน้องธนัช ระบุด้วยว่า ลูกยังมีความเป็นเด็กเช่นเดียวกับเด็กๆ ทั่วไปเป็นเด็ก
ที่เข้าสังคมได้ดี เราพยายามรักษาตรงนี้ไว้ แต่จะคุยกับเด็กรุ่นเดียวกันไม่ค่อยสนุก
เนื่องจากความสนใจของธนัชก้าวไปไกลกว่าเด็กทั่วไป แต่ถ้าได้คุยกับนักวิชาการ
ด๊อกเตอร์ หรือศาสตราจารย์ดูจะสนุกและมีความสุขมาก เหมือนต่อยอดความรู้
"ธนัชยังสนใจด้านกีฬา รักการออกกำลังกายโดยเล่นกอล์ฟจึงไม่ค่อยป่วย และชอบ
เชียร์นักกีฬาไทย ทั้งน้องเมย์ รัชนก อินทนนท์ รวมถึงล่าสุดทีมวอลเลย์บอลสาวไทย
นัดชิงชนะเลิศ น้องธนัชเชียร์แบบกระโดดตัวลอยโดยลืมว่ากำลังเจ็บเท้าอยู่ อาหาร
การกินจะกินตามปกติ แต่ไม่กินอาหารเผ็ด เราไม่ได้ให้กินอาหารเสริมหรือวิตามิน
ใดๆ เลย แต่ตอนนี้ห่วงเรื่องการนอนดึก เพราะเขาสนใจเรียนออนไลน์ซึ่งปัจจุบัน
เรียนสดแบบเรียลไทม์กับอาจารย์ใน 4 มหาวิทยาลัยดังของสหรัฐ คือ มหาวิทยาลัย
เอ็มไอที ฮาร์วาร์ดสแตนฟอร์ด และเบิร์กลีย์"
างวัชราภรณ์ เปลวเทียนยิ่งทวี คุณแม่ เผยสาเหตุที่ตัดสินใจนำด.ช.ธนัชออกจากระบบ
โรงเรียนว่า ตอนแรกคิดว่าโรงเรียนที่มีโครงการพัฒนาเด็กผู้มีความสามารถพิเศษ
จะเหมาะกับลูก แต่ค้นพบว่าพัฒนาการที่ก้าวหน้าของลูกล้วนมาจากศักยภาพของลูก
ผนวกกับการส่งเสริม ความทุ่มเทและใส่ใจจากที่บ้านทั้งสิ้น จึงตัดสินใจออกจากระบบ
โรงเรียนเมื่อจบ ป.3 เทอมต้นมาจดทะเบียนขอจัดการศึกษาโดยครอบครัวกับเขต
การศึกษาพื้นที่ ภายใต้การสนับสนุนส่งเสริมจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นผู้ประเมินและรับรองผลการศึกษาของธนัช
"การเรียนของน้องธนัชใช้หลักสูตรกำหนดโดยกระทรวงศึกษาธิการเป็นแนวทางโดย
ผู้ปกครองออกแบบบูรณาการให้เหมาะสมเป็นการเฉพาะเจาะจงตามความชอบ
ความสนใจ ความถนัด และพัฒนาก้าวหน้าไปตามศักยภาพ หลังออกจากระบบ
โรงเรียนมาถึงขณะนี้ 3 ปีเต็ม วิชาการทั่วไปตอนนี้ศึกษาในระดับมัธยมต้นแต่หลายวิชา
เรียนก้าวหน้าไปถึงระดับมัธยมปลายและมหาวิทยาลัย" นางวัชราภรณ์กล่าว
ด้านด.ช.ธนัช ให้สัมภาษณ์ว่า ชอบระบบจัดการศึกษาแบบแฟมิลี่ อคาเดมี ที่คุณพ่อคุณแม่
จัดให้มาก เพราะวันหนึ่งๆ สามารถเรียนรู้ แสวงหา และทำอะไรที่อยากทำได้มากมาย
คุณแม่จะเป็นคนวางแผนในแต่ละวันว่าต้องเรียนอะไรบ้าง สลับกับการออกกำลังกาย
ซ้อมไวโอลิน เล่น หรือทำอย่างอื่นที่กำลังสนใจอยากเรียนรู้
ผู้สื่อข่าวถามถึงเพื่อนๆ และการใช้ชีวิตในสังคม เจ้าของฉายาโมสาร์ทน้อย กล่าวว่า
"ผมมีโอกาสดีมากที่ได้พบเพื่อนๆ มาจากที่ต่างๆ ด้วยวัย ประสบการณ์ และความสนใจ
หลากหลาย มีโอกาสเรียนรู้สังคมรอบตัว ทำให้ปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้มากกว่า
ผมจึงมีสังคมที่เปิดกว้างกว่าแค่เพื่อนในวัยเดียวกันที่จะพบตอนไปโรงเรียน ผมมี
เพื่อนเล่นตั้งแต่วัยเด็กกว่าไปจนถึงอายุมากกว่า แต่คนที่ผมชอบคุยด้วยส่วนใหญ่
จะอายุมากกว่า หลายท่านเป็นระดับศาสตราจารย์หรือรองศาสตราจารย์ที่เอ็นดูและ
กรุณาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์หลายๆ เรื่อง ช่วยย่นระยะเวลาการเรียนรู้
ผมนำสิ่งที่ได้จากท่านเหล่านั้นไปต่อยอดค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งความรู้อื่นๆ เช่น
ตำราหรืออินเตอร์เน็ต เมื่อผมเรียนรู้และฝึกฝนแล้วเจออุปสรรคปัญหาก็กลับไปหา
ท่านใหม่ ท่านจะชี้จุดให้ ผมก็เดินต่อได้"
เมื่อสอบถามถึงความรู้สึกที่มีรายชื่อเป็น 1 ใน 15 เด็กอัจฉริยะของโลกประจำปีนี้
ด.ช.ธนัชกล่าวว่า รู้สึกยินดีและเป็นเกียรติ แต่เส้นทางสู่ความสำเร็จยังอีกยาวไกล
ยังต้องใช้เวลาเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวอีกมาก ทั้งลองผิดลองถูก สมหวังบ้าง ผิดหวัง
บ้างแบบคนธรรมดาทั่วไป เมื่อผิดหวังจะบอกตัวเองว่าไม่ใช่ความล้มเหลว เพียงแต่
ยังเดินไปไม่ถึงเป้าหมาย เพราะฉะนั้นต้องก้าวเดินต่อไป และหวังอย่างยิ่งว่าสักวันหนึ่ง
จะสามารถคิดบางสิ่งบางอย่างที่เป็นประโยชน์กับมนุษยชาติได้
วันเดียวกันศ.ดร.สุพจน์ หารหนองบัว คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ย้อนเบื้องหลัง
การเปิดโอกาสให้ธนัชมาร่วมทำงานวิจัย ว่า รู้จักกับน้องธนัชเมื่อ 2 ปีก่อนในงาน
นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ขณะนั้นธนัชมาเล่นดนตรีและเข้าไปรับฟังบรรยายจาก
นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น เห็นว่ารับฟังอย่างตั้งอกตั้งใจ แปลกใจว่าทำไมถึงมาฟังและ
ดูแล้วฟังอย่างรู้เรื่อง เมื่อมีโอกาสพูดคุยกับคุณพ่อน้องธนัช ถึงความสนใจของเด็ก
ประกอบกับศ.ดร. ชิดชนก เหลือสินทรัพย์ นักวิชาการคณะวิทยาศาสตร์และวิทยาการ
คอมพิวเตอร์ พบว่าธนัชสนใจและฟังเข้าใจจึงหาโครงการให้ลองทำเพื่อหยั่งเชิงว่า
สามารถรับได้แค่ไหน สิ่งน่าสนใจคือเมื่ออ.ชิดชนก อธิบายด้วยภาษานักวิชาการ
น้องธนัชจดจำและสรุปประเด็นสิ่งต่างๆ ได้ดี เมื่อเจอกับผู้อื่นสามารถอธิบายเรื่อง
วิชาการในภาษาพูดธรรมดาที่คนฟังเข้าใจได้ง่ายอีกด้วย
"ปัจจุบันธนัชทำโครงการวิจัยวิทยา ศาสตร์คอมพิวเตอร์กับศ.ดร.ชิดชนก ตอนนี้เรา
คุยไปถึงขั้นนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลของไทย ซึ่งตอนนี้ยังไม่มี น้องธนัชอาจ
เป็นความหวังเพราะมีทักษะหลายด้าน ด้านวิทยาศาสตร์ก็ทำได้ดี โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์
คอมพิวเตอร์ ถ้ามีเวลาอยากให้ทำต่อเนื่อง สิ่งที่ต้องคอยระวังคือความรู้พื้นฐานใน
ระดับมัธยศึกษาที่แน่นจริงๆ ไม่ใช่ว่าเป็นเด็กอัจฉริยะแล้วไม่ต้องเรียน ความรู้พื้นฐาน
ยังเป็นสิ่งจำเป็น อย่างไรก็ตามเด็กที่เรียนขนาดนี้และไม่ค่อยมีเพื่อน แต่กลับกลายเป็น
เด็กที่ร่าเริงมาก อัธยาศัยดี มีความสุภาพมาก นับว่าเป็นคุณลักษณะที่ดี" ศ.ดร.สุพจน์กล่าว
ข้อมูลจาก นสพ.ข่าวสด ภาพจาก http://www.prachachat.net
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น