วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ซูเปอร์นางแบบโลก"ไม่อาย ให้นมลูกขณะเมคอัพ


สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 11 ธ.ค.ว่า จีเซล บุนเช็น ซูเปอร์โมเดลระดับโลก 
สร้างความฮือฮาเมื่อเธอให้นมลูกสาว ขณะที่เธอกำลังรับการเมคอัพ เพื่อถ่ายแบบ 
เมื่อเร็ว ๆ นี้ และถือพฤติกรรมที่เป็นการสนับสนุนการรณรงค์ให้นมลูกกลางที่สาธารณะ

รายงานระบุว่า เหตุการณ์ดังกล่าวถูกบันทึกเป็นภาพอินสตาแกรมของยอดนางแบบดัง 
แสดงให้เห็นจีเซล กำลังให้นม"วิเวียน"ลูกสาววัย 1 ขวบของเธอ ขณะที่เธอรับการเมคอัพ 
ทาเล็บ และทำผม เพื่อถ่ายแบบชุดชั้นในใหม่ค่าตัวหลายล้านปอนด์ โดยยอดนางแบบ
อยู่ในสภาพให้นมลูกสาวอย่างผ่อนคลายสบาย ๆ ไม่เครียด 

ขณะที่เจ้าตัวได้โพสต์ข้อความว่า เธอคงทำอะไรไม่ได้หากไม่มีทีมเมคอัพนี้
 หลังจากที่เธอต้องบินนานกว่า 15 ชม.และได้หลับแค่ 3 ชม.ขณะที่สื่อรายงาน
ชื่นชมว่า เหตุการณ์นี้อาจถือได้ว่า จีเซล เป็นอีกคนหนึ่งที่สนับสนุนการให้นมลูก
ต่อสถานที่สาธารณะ

ก่อนหน้านี้ จีเซล ยังได้เผยภาพชีวิตส่วนตัวของเธอ โดยเฉพาะเคล็ดลับการรักษาหุ่น
ของเธอ โดยโพสต์ภาพตัวเธอกำลังเล่นโยคะ และภาพเธอกับวิเวียนลูกสาว พร้อมทั้ง
ขอบคุณป้าของเธอที่ถ่ายรูปเธอคู่กับลูกสาวในโอกาสพิเศษให้ ทั้งนี้ จีเซล ปัจจุบัน 
อาศัยอยู่ในเมืองลอส แองเจลิส ของสหรัฐ เธอแต่งงานกับทอม เบรดี้ ซูเปอร์สตาร์
นักกีฬาอเมริกันฟุตบอล มีลูกสองคน คือ เบนจามิน ลูกชาย วัย 4 ปี และวิเวียน

ข้อมูลจาก http://www.matichon.co.th และภาพจาก  http://www.manager.co.th

สัตวแพทย์เกษตรสุดเจ๋ง! ใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าในหัวใจสุนัขสำเร็จครั้งแรกในไทย


สุนัขพันธุ์ชเนาเซอร์ เพศเมียทำหมันแล้ว 
อายุ 14 ปี มารับการรักษาที่โรงพยาบาลสัตว์ 
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
บางเขน เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2556 ด้วย
อาการเป็นลมในช่วงเวลา 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา 
และถี่ขึ้นเรื่อยๆ สุนัขได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค
ซิกไซนัสซินโดรม (Sick sinus syndrome)
เป็นความผิดปกติของระบบ cardiac conduction 
system ซึ่ง sinus node ที่อยู่บริเวณหัวใจ
ห้องบนขวา มีการทำงานผิดปกติ โดยส่งสัญญาณ
ไฟฟ้าออกมาช้าบ้าง เร็วบ้าง ทำให้หัวใจเต้นช้า-เร็ว ไม่สม่ำเสมอ  ส่งผลให้ปริมาณ
เลือดและความดันเลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย  
สัตว์ป่วยจึงแสดงอาการอ่อนแรงเป็นลมและหมดสติ  เนื่องจากความดันเลือด
ไม่เพียงพอ สาเหตุการเกิด sick sinus syndrome นั้น ยังไม่เป็นที่ทราบ
แน่ชัด แต่มีรายงานในสุนัขว่าพันธุ์ที่มีโอกาสพบได้มากหรือเป็นปัจจัย
โน้มนำ ได้แก่ สุนัขพันธุ์ West Highland whites terrier , พันธุ์ Miniature 
schnauzer และ พันธุ์ Cooker Spaniels. 

รศ.สพ.ญ.อมรรัตน์ ศาสตราวาหา ภาควิชาเวชศาสตร์คลินิก
สัตว์เลี้ยง คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
หัวหน้าทีม พร้อมด้วยทีมงานประกอบด้วย รศ.น.สพ.ดร.นริศ 
เต็งชัยศรี ผศ.น.สพ.ดร.จตุพร หนูสุด อ.สพ.ญ.ดร.สิริรัตน์ 
นิยม อ.สพ.ญ.ทักษอร ดวงอุไร น.สพ.วิจิตร สุทธิประภาและ 
นอ.นพ.เกรียงไกร จิรสิริโรจนากร ที่ปรึกษา ได้ร่วมกันรักษา
โดยใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจในสุนัขหัวใจเต้นผิดปกติ สำเร็จเป็นครั้งแรก
ในประเทศไทย

หัวหน้าทีม เปิดเผยว่า การวินิจฉัยสัตว์ป่วยที่มีปัญหาเรื่องหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้น 
โดยปกติสัตวแพทย์จะตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography, ECG) 
 แต่หัวใจเต้นผิดจังหวะบางประเภทเกิดขึ้นในช่วงสั้น ๆ และหายไป ทำให้ไ
ม่สามารถตรวจพบได้ สัตวแพทย์อาจต้องเครื่องมือที่เรียกว่า Holter monitor 
เป็นเครื่องมือช่วยบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอดระยะเวลา 24 ชั่วโมง โดยเจ้าของ
สัตว์จะช่วยบันทึกว่าสัตว์ป่วยทำกิจกรรมอะไรอยู่และแสดงอาการ หรือ มีความ
ผิดปกติใด ณ เวลาใด  จากนั้นนำมาเทียบกับบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ได้เพื่อดูว่า
มีความสัมพันธ์กันหรือไม่  ในสัตว์ คือสุนัขและแมว เราทำได้แค่ติด holter monitor 
แต่ยังไม่สามารถทำการตรวจระบบการนำไฟฟ้าภายในหัวใจได้ (Cardiac
 Electrophysiology Study) 

โรคซิกไซนัสซินโดรม (Sick sinus syndrome) 
ในสัตว์ป่วยรายนี้มาด้วยอาการเป็นลมหมดสติ และ    
ถี่มากขึ้นใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา  เนื่องจากสัตว์ป่วย
ไม่ตอบสนองต่อการทำ atropine test และสัตว์
ป่วยแสดงอาการเป็นลมก็มากขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบกับ
ผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในขณะสัตว์ป่วยมีอาการ
นั้นชัดเจนมาก จึงไม่จำเป็นต้องการติด Holter 
monitor และ เมื่อไม่ตอบสนองต่อ atropine test  
ทีมงานจึงตัดสินใจฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker)  
เป็นการฝังเครื่องมือเล็ก ๆ ไว้ใต้ผิวหนังบริเวณลำคอ
ด้านขวาของสัตว์ป่วย  และสอดสายนำไฟฟ้าไปยังหัวใจ ผ่านหลอดเลือดดำ jugular 
และไปติดที่ผนังหัวใจห้องล่างขวา  เครื่องจะทำการตรวจจับจังหวะการเต้นของหัวใจ
สายนำไฟฟ้าจะเป็นตัวควบคุมและกระตุ้นให้หัวใจเต้นตามอัตราที่กำหนด  สัตว์ป่วย
รายนี้ตั้งที่ 70-170 ครั้งต่อนาที  ในการฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker) ครั้งนี้ 
เราได้ เชิญ นาวาอากาศเอก เกรียงไกร จิรสิริโรจนากร อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน
กระแสไฟฟ้าในหัวใจ  มาเป็น ที่ปรึกษา ผลการรักษาก็เป็นที่น่าพอใจมาก โดยทาง
คณะสัตวแพทย์ ทีมที่ดูแลสัตว์ป่วยได้ติดตามอาการใน 24 ชั่วโมงแรก  

หลังจากนั้นได้ติดตามอาการกับเจ้าของ พบว่าสุนัขแข็งแรงดี ไม่มีการเป็นลมหมดสติ
และวันรุ่งขึ้นได้ตรวจสุขภาพพบว่าสุนัขดูดี ไม่มีการเป็นลมหมดสติใด ๆ ทำการตรวจ
คลื่นไฟฟ้าหัวใจพบอัตราการเต้นหัวใจ 80 ครั้งต่อนาที เป็นของเครื่องกระตุ้นหัวใจ 3 ครั้ง 
และของสุนัขเต้นเอง 1 ครั้ง  ซึ่งถ้าไม่ได้ทำการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ สัตว์ป่วยอาจ
เสียชีวิตได้   หลังจากนั้นเราทำการติดตามใน 7 วันต่อมา พบว่า โดยรวมทุกอย่างดีมาก 
ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ บริเวณที่ฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจไม่มีอาการบวมเลือดคั่ง
 (hematoma)   แต่สุนัขแสดงอาการสะบัดคอบ่อยอาจจะเกิดจากความรำคาญ แต่ได้
กำชับเจ้าของและทำการพันคอไม่ให้สุนัขขยับคอมากเพราะสายอาจจะเลื่อนหลุดได้

นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยทีมสัตวแพทย์ คณะสัตวแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ ในการรักษาสุนัขที่หัวใจเต้นผิดปกติได้สำเร็จ

ภาพและข้อมูลจาก  http://www.matichon.co.th/